คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับเวลา
สวัสดีครับ ผมเชื่อว่าเพื่อนๆที่เรียนภาษาญี่ปุ่นหลายคนน่าจะมีปัญหาและสับสนเวลาที่ต้องใช้พวก คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับเวลา กันใช่ไหมครับ เพราะในชีวิตประจำวัน เรามักจะโดนถามคำถามหรือต้องพูดเรื่องที่เกี่ยวกับเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว เช่น เวลาโดนถามว่าตอนไหน เมื่อไหร่ กี่โมง หรือจะชวนเพื่อนไปเที่ยว ก็ต้องนัดหมายเรื่องเวลากันอยู่ดี สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจและไม่รู้ว่าจะตอบยังไงดี ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นก็ผ่านปัญหานี้กันมาทั้งนั้น (รวมทั้งผมด้วย) เพื่อให้เราใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น วันนี้เรามาเรียนคำศัพท์เกี่ยวกับเวลาในภาษาญี่ปุ่นกันครับ
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะครับว่าคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่เกี่ยวกับเวลานั้นมีเยอะมากกก แต่บางคำก็ไม่ค่อยได้ใช้ครับ เหมือนอย่างในภาษาไทยของเรา ก็มีคำศัพท์ที่เกี่ยวกับเวลาเยอะมากเช่นกันใช่ไหมครับ อย่างเช่น เช้า สาย บ่าย เย็น เมื่อวาน วันนี้ พรุ่งนี้ เดือนหน้า ประเดี๋ยว ซักครู่ ชั่วพริบตา พลบค่ำ โพล้เพล้ ชั่วเคี้ยวหมากแหลก ชั่วนาตาปีฯ เยอะมากๆครับ ถ้าให้พิมพ์ทั้งหมดคงจะไม่ไหว ถ้าเพื่อนๆลองสังเกตดู จะเห็นได้ว่าบางคำบอกเวลาในภาษาไทย เราก็ไม่ค่อยได้ใช้กันใช่ไหมครับ เช่น ชั่วเคี้ยวหมากแหลก ปัจจุบันน่าจะไม่ค่อยมีใครใช้แล้วนะครับ ตัวผมเองก็ยังไม่เคยใช้เลยซักครั้ง 555 ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นเองก็เหมือนกันครับ ในบรรดาคำศัพท์เกี่ยวกับเวลามากมาย คำที่ใช้จริงๆในชีวิตประจำวันมันก็ไม่ได้เยอะขนาดนั้นหรอกครับ เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลไปครับ วันนี้ผมจะมาสอนเฉพาะคำที่ใช้บ่อยๆและควรต้องจำเท่านั้นครับ คำอื่นๆถ้าใครสนใจลองหาข้อมูลเพิ่มเติมดูได้นะครับ ยังไงการรู้เยอะไว้ก่อนก็เป็นเรื่องที่ดีแน่นอนครับ
ชั่วโมง นาที วินาที
ผมขอไม่ลงรายละเอียดมากในส่วนของการบอกเวลา ว่ากี่โมง กี่นาที กี่วินาที ไปนะครับ เพราะเชื่อว่าทุกคนน่าจะเรียนกันมาเยอเะพอสมควรแล้ว
มาเริ่มกันที่ชั่วโมงกันเลยครับ คนญี่ปุ่นนิยมบอกเวลากันด้วยระบบ 12 ชั่วโมงครับ ก็คือแบ่งเป็นช่วง 午前(A.M.)และ 午後(P.M.)นั่นเองครับ
สำหรับการบอกเวลาก็สามารถใช้ตัวเลขแล้วตามด้วย คำว่า 時 (่じ) ได้เลยครับ
*โดยมีข้อควรระวังก็คือเวลาที่ผมใส่สีแดงไว้ครับ
1 A.M. (ตี 1 )/ 1 P.M. (บ่ายโมง) 一時 いちじ
2 A.M. (ตี 2) / 2 P.M. (บ่าย 2) 二時 にじ
3 A.M. (ตี 3) / 3 P.M. (บ่าย 3) 三時 さんじ
4 A.M. (ตี 4) / 4 P.M. (4 โมงเย็น) 四時 よじ
5 A.M. (ตี 5) / 5 P.M. (5โมงเย็น) 五時 ごじ
6 A.M. (6 โมงเช้า) / 6 P.M (6 โมงเย็น) 六時 ろくじ
7 A.M. (7 โมงเช้า) / 7 P.M (1 ทุ่ม) 七時 しちじ
8 A.M.(8 โมงเช้า) / 8 P.M (2 ทุ่ม) 八時 はちじ
9 A.M. (9 โมงเช้า) / 9 P.M (3 ทุ่ม) 九時 くじ
10 A.M. (10 โมงเช้า) / 10 P.M (4 ทุ่ม) 十時 じゅうじ
11 A.M. (11 โมงเช้า) / 11 P.M (5 ทุ่ม) 十一時 じゅういちじ
12 A.M. (เที่ยงวัน) / 12 P.M (เที่ยงคืน) 十二時 じゅうにじ
เวลาจะนัดหมายเวลากัน แนะนำให้ระบุว่าเป็น 午前 หรือ 午後 ด้วยนะครับ จะได้ไม่สับสน
เช่น 8 โมงเช้า ก็คือ 午前八時 (ごぜんはちじ) / สองทุ่มคือ 午後八時 (ごごはちじ)
*ใช้เป็นตัวเลขตามปกติเลยก็ได้นะครับ ไม่จำเป็นต้องใช้คันจิก็ได้ครับ
ส่วนข้างล่างนี้เป็นคำศัพท์ในส่วนของ นาที และ วินาที ครับ
ง่ายๆครับ ใช้เหมือนชั่วโมงเลยครับ คือเอาตัวเลขมาต่อด้วยคำที่แปลเวลา นาที และ วินาที นั่นเองครับ
สิ่งที่อยากให้ระวังก็คือคำอ่านครับ ผมพิมพ์ไว้ให้ข่างล่างแล้ว ค่อยๆจำนะครับ ^^
1 นาที 一分 いっぷん
2 นาที 二分 にふん
3 นาที 三分 さんぷん
4 นาที 四分 よんぷん
5 นาที 五分 ごふん
6 นาที 六分 ろっぷん
7 นาที 七分 ななふん
8 นาที 八分 はっぷん
9 นาที 九分 きゅうふん
10 นาที 十分 じゅっぷん
กี่นาที 何分 なんぷん
1 วินาที 一秒 いちびょう
2 วินาที 二秒 にびょう
3 วินาที 三秒 さんびょう
4 วินาที 四秒 よんびょう
5 วินาที 五秒 ごびょう
6 วินาที 六秒 ろくびょう
7 วินาที 七秒 ななびょう
8 วินาที 八秒 はちびょう
9 วินาที 九秒 きゅうびょう
10 วินาที 十秒 じゅうびょう
กี่วินาที 何秒 なんびょう
วันที่
มาต่อกันที่วันที่ต่างๆกันในปฏิทินกันก่อนดีกว่าครับ วันที่ในภาษาญี่ปุ่นไม่ยากครับ ส่วนใหญ่ก็จะอ่านตามวิธีการอ่านตัวเลขตามปกติครับ แต่จะมี วันที่ 1 – 10 วันที่ 14, 20 และ 24 ที่มีวิธีอ่านแบบพิเศษครับ ผมเขียนทั้งหมดไว้ให้ในรูปด้านล่างแล้วครับ ลองค่อยๆฝึกจำกันไปนะครับ
มาต่อกันที่เดือนต่างๆในภาษาญี่ปุ่นครับ
เดือนในภาษาญี่ปุ่นง่ายมากครับ ก็คือใช้เป็นเดือนที่ 1 2 3…ไปเรื่อยๆ จนถึงเดือนที่ 12 เลยครับ ไม่ได้มีชื่อที่ต้องจำเป็นพิเศษ (อันที่จริงเดือนของญี่ปุ่นเองก็มีชื่อเฉพาะสำหรับแต่ละเดือนเหมือนกันครับ แต่ว่าในปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้ว ถือเป็นบุญของพวกเรานะครับ เพราะว่าจำยากพอสมควรเลย 5555 ใครสนใจเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บนี้เลยนะครับ มีคนรวบรวมข้อมูลไว้ให้แล้วครับ ความเป็นมาของชื่อเดือนญี่ปุ่นแบบโบราณ) ที่ผมอยากให้ระวังนิดนึงก็คือคำอ่านของเดือนที่ 4, 7 และ 9 ครับ เดือนที่ 4 อ่านว่า しがつ นะครับไม่ใช่ よんがつ เดือนที่ 7 อ่านว่า しちがつ ไม่ใช่ なながつ และเดือนที่ 9 อ่านว่า くがつ ไม่ใช่ きゅうがつ หลายคนจะชอบจำผิด ระวังตรงนี้ไว้ด้วยนะครับ
สำหรับคำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวกับ “วัน” ในภาษาญี่ปุ่นที่ควรจำมีประมาณนี้ครับ ทุกคนน่าจะเคยเรียนกันมาแล้วใช่ไหมครับ
จะมีจุดที่ต้องระวังก็คือคำอ่านของแต่ละคำนั่นเองครับ ถ้าเพื่อนๆสังเกตุดีๆจะเห็นมาบางคำเขียนด้วยคันจิตัวเดียวกัน แต่มีคำอ่านหลายแบบใช่ไหมครับ เช่น 今日 อ่านได้ทั้ง きょう และ こんにち, 明日 อ่านได้ทั้ง あした, あす และ みょうにち
สาเหตุที่อ่านได้หลายแบบ เพราะว่าวิธีอ่านแต่ละแบบใช้ในสถานการณ์ไม่เหมือนกันนั่นเองครับ วิธีจำง่ายๆเลยนะครับ คำอ่านอันแรกหรือคำอ่านพื้นฐานที่พวกเราทุกคนเรียนกันมา 一昨日(おととい), 昨日(きのう), 今日(きょう), 明日(あした) และ 明後日(あさって) เป็นวิธีอ่านที่ใช้ตอนพูดคุยทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นทางการ เช่น คุยกับคนในครอบครัว เพื่อน เป็นต้น ส่วนคำอ่านอื่นๆ เป็นคำอ่านที่ใช้ในสถาการณ์ที่เป็นทางการครับ เช่น ใช้ตอนประกาศ ใช้ในการทำงาน ใช้ตอนที่ต้องการให้ฟังดูสุภาพ เป็นต้น
มีจุดที่อยากให้ระวังอยู่จุดนึงครับ คือ 今日 (きょう) ที่แปลว่าวันนี้ ภาษาทางการคือ 本日 (ほんじつ) ครับ ส่วน 今日 ที่อ่านว่า こんにち จะเป็นอีกความหมายหนึ่ง ที่แปลประมานว่า ช่วงนี้ สมัยนี้ หรือหมู่นี้ ครับ ความหมายคล้ายๆ 近頃 (ちかごろ) กับ この頃 (このごろ)
ตัวอย่าง
- 今日(きょう)、友達と映画を見に行った。วันนี้ไปดูหนังกับเพื่อนมา
- 今日(こんにち)では、若い人はみんなスマホを持っている。สมัยนี้เด็กวัยรุ่นมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนกันทุกคน
ส่วนข้างล่างนี้เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับวันที่ใช้บ่อยเหมือนกันครับ
วันรุ่งขึ้น/วันถัดมา/วันต่อมา
翌日(よくじつ)
後日(ごじつ)
วันก่อนหน้า
前日(ぜんじつ)
วันธรรมดา
平日(へいじつ)
วันหยุด
休日(きゅうじつ)
วันหยุดนักขัตฤกษ์
祝日(しゅくじつ)
วันหยุดยาวต่อเนื่อง
連休(れんきゅう)
ต่อไปเป็นคำศัพท์พื้นฐานที่เกี่ยวกับ สัปดาห์ เดือน และ ปี ในภาษาญี่ปุ่นที่ควรจำครับ เพื่อนๆสามารถดูตามรูปข้างล่างที่ผมใส่ไว้ให้ได้เลยนะครับ
คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับเวลา “สัปดาห์”
คำศัพท์เกี่ยวกับ “เดือน”
ต้นเดือน (ประมาณวันที่ 1 – 10)
上旬(じょうじゅん)
กลางเดือน (ประมาณวันที่ 11 – 20)
中旬(ちゅうじゅん)
ปลายเดือน (ประมาณวันที่ 21 – 30/31)
下旬(げじゅん)
แล้วก็ผมแนะนำให้จำคำเหล่านี้ไปด้วยเลยก็ดีครับ เพราะว่าใช้บ่อยเหมือนกันครับ
คำศัพท์เกี่ยวกับ “ปี”
ระวังเรื่องคำอ่านของ 今年 ที่แปลว่าปีนี้ไว้นิดนึงนะครับ หลายคนชอบอ่านผิด อ่านมา ことし นะครับ ไม่ใช่ こんねん
แต่!!! คำนี้ 今年度 อ่านว่า こんねんど นะครับ (ใจเย็นนะครับ อย่าพึ่งหัวร้อนแล้วปิดไปนะครับ 555 อันนี้ผมเสริมให้เฉยๆครับ ใครที่ยังไม่อยากจำข้ามไปก่อนก็ได้ครับ) เนื่องจากว่าคำนี้คือ 年度 (ねんど) ที่แปลว่า ปีงบประมาณ และต้องการจะขยายว่าเป็น ปีงบประมาณนี้ เลยเป็น 今年度 (こんねんど) ครับ
ต่อไปเป็นคำศัพท์เสริมเกี่ยวกับวันที่และเวลาที่ผมอยากให้จำเพิ่มเติมครับ
ช่วงเวลา
อดีต
過去(かこ)
ปัจจุบัน
現在(げんざい)
อนาคต
未来(みらい)/ 将来(しょうらい)
ความแตกต่างของ 未来 กับ 将来 ทั้ง 2 คำนี้แปลว่า อนาคต เหมือนกัน แต่ว่าใช้ต่างกันครับ
将来(しょうらい)คือ อนาคตอันใกล้ (อนาคตที่กำลังจะมาถึง) เวลาที่เราจะพูดถึงอนาคตของตัวเราหรือใครซักคนเราจะใช้คำนี้ครับ
เช่น 私は将来、医者になりたい。อนาคตฉันอยากเป็นหมอ
未来(みらい)คือ อนาคตที่ไกลตัวเรามากๆ ร้อยปี พันปีข้างหน้า ไม่ใช่เวลาพูดถึงอนาคตของตัวเอง
เช่น ドラえもんは未来から来たネコ型ロボットです。โดราเอมอนเป็นหุ่นยนต์แมวที่มาจากอนาคต
จนถึงตอนนี้ (จากอดีตจนถึงปัจจุบัน)
従来(じゅうらい)
…เว้น…
วันเว้นวัน
隔日(かくじつ)
สัปดาห์เว้นสัปดาห์
隔週(かくしゅう)
เดือนเว้นเดือน
隔月(かくげつ)
ปีเว้นปี
隔年(かくねん)
วันหยุดและวันนักขัตฤกษ์ของญี่ปุ่น
หัวข้อนี้จริงๆไม่ต้องจำก็ได้ครับ ผมแค่ใส่เอาไว้เผื่อว่ามีใครที่สนใจวันหยุดของญี่ปุ่น ผมจะใส่เฉพาะวันสำคัญๆที่พวกเราน่าจะได้ยินบ่อยๆนะครับ
JAN 1 วันขึ้นปีใหม่ (อันนี้ของไทยก็ใช้ได้นะครับ)
元日(がんじつ)
2nd Monday of JAN วันบรรลุนิติภาวะ
成人の日(せいじんのひ)
FEB 11 วันชาติ
建国記念日(けんこくきねんび)
MAY 3 วันรัฐธรรมนูญ
憲法記念日(けんぽうきねんび)
MAY 5 วันเด็ก
子供の日(こどものひ)
3rd Monday of SEP วันเคารพผู้สูงอายุ
敬老の日(けいろうのひ)
NOV 23 วันขอบคุณผู้ใช้แรงงาน
勤労感謝の日(きんろうかんしゃのひ)
เป็นไงบ้างครับทุกคน สำหรับบทความ “คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเกี่ยวกับเวลา” ที่ผมสรุปมาให้ อาจจะไม่ได้ครบถ้วนแบบ 100% แต่ผมก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆทุกคนไม่มากก็น้อยนะครับ 🥰
อ่านบทความเกี่ยวกับญี่ปุ่นที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ https://japantoprank.com/